ถนนทุกสายโลกธุรกิจพลังงานต่างมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันนั่นคือ การเปลี่ยนผ่านพลังงานรูปแบบเดิมไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 “บางจาก” จัดสัมมนาประจำปีครั้งที่ 12 โดยมีหัวข้อ Energy Security and Carbon Sequestration เพื่อสะท้อนให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงภาวะโลกร้อน ทว่าการเปลี่ยรผ่านพลังงานรูปแบบเดิมต้องใช้เวลาและต้องอาศัยเทคโนโลยีช่วยสร้างความสมดุล
พลังงานฟอสซิลต้องใช้เวลาเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โลกจะยังคงต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน แต่การดูดซับคาร์บอนทั้งทางธรรมชาติและด้วยเทคโนโลยี จะทำให้พลังงานฟอสซิลสามารถสร้างสมดุลให้กับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้
การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจึงเป็นประเด็นท้าทายที่ทั่วโลกต้องเผชิญในขณะนี้ เมื่อแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจะยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกไปอีกหลายทศวรรษ มนุษย์จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาเรื่องสภาพอากาศ
รวมถึงการใช้การดูดซับทางธรรมชาติร่วมสร้างความยั่งยืนให้แก่โลก ควบคู่กันกับการขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและสร้างทางเลือกของแหล่งพลังงานเพื่อความยั่งยืน โดยทั่วโลกกำลังเปลี่ยนผ่านพลังงานรูปแบบเดิมไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero ร่วมกัน

“ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน ซึ่งความผันผวนด้านราคาพลังงานถือว่าเป็นความท้าทาย ความเสี่ยงและมีความสำคัญกับทุกกิจกกรรม ซึ่งปีนี้จะเห็นว่าราคาน้ำมันสูงถึงลิตรละ 40 บาท และจากการที่ปัจจุบันมีการใช้พลังงานทั่วโลก 1 วันละประมาณ 1.7 ล้านล้านล้านจูน หรือเทียบเท่าการบินรอบโลก 1 แสนรอบ หรือบินรอบโลก 1 แสนรอบ หรือจากโลกไปดวงจันทร์วันละ 5,000 รอบ ถือเป็นปริมาณที่มหาศาลมาก ดังนั้น การจะปิด หยุดพลังงานจากฟอสซิลแล้วใช้พลังานทดแทนที่มหาศาลขนาดนี้ จึงต้องใช้เวลา”
โดยในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนมหาศาล รวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมี Taxonomy หรือการจัดหมวดหมู่ธุรกิจการลงทุนที่ช่วยลดคาร์บอนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ชวยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้เร็วขึ้น สร้างมูลค่าให้การลงทุนที่จะช่วยให้เกิดการลดคาร์บอน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนมากขึ้นผ่านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และยังรวมถึงการกำหนดนโยบายด้านการเงิน
เช่น ภาษีคาร์บอน (carbon tax) และการสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยภาคเอกชนกันเอง โดยธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมาก นำเงินส่วนหนึ่งมาซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นการชดเชย และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอีกทางหนึ่ง
“การใช้พลังงานประมาณ 120 ปี GDP โลกอยู่ที่ 96 ล้านล้านดอลลาร์ 1,960 ล้านคน ขณะนี้มีประมาณ 8,000 ล้านคน จากจีดีพีโลก 2 ล้านล้านดอลลาร์ขึ้น 4 เท่าตัว ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว เบื้องหลังที่ทำให้อยู่ได้สะดวกสบายคือพลังงาน ซึ่งจากนี้ไปอีก 10-30 ปี โลกจะมี 10,000 ล้านคน พลังงานจะต้องมีมากขึ้น ถ้าไม่ช่วยกันผลักดันการบริโภคพลังงานจากปีละ 624 ล้านล้านล้านจูน จะขึ้นมาที่ 740 ล้านล้านล้านจูน แต่ถ้าช่วยกันผลักดันจะลดลงมาเหลือ 532 ล้านล้านล้านจูน”
บางจากเปิด 3 ความท้าทายพลังงาน
สัดส่วนที่ใช้ พลังงานเยอะมากที่สุด และทุกคนพยายามผลักดัน คือรถยนต์ ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าปี 2030 จะมีรถอีวี 30% จากปริมาณทั้งหมดในประเทศ บางจากขอแค่ 10% นับจากจากปี 2021-2030 นั่นคือจะมีเวลา 9 ปี ซึ่งปี 2021 มีรถอีวี 17 ล้านคัน และในปี 2030 หากคิด 10% จะอยู่ที่ 200 ล้านคัน เวลา 9 ปี ต้องผลิตรถอีวีปีละ 20 ล้านคัน จึงต้องหาโรงงานที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ปีนี้ที่ 2,000 กิกกะวัตต์ และต้องมีประมาณ 150 แห่ง แต่ตอนนี้ไม่ถึง 10 แห่ง สุดท้ายไม่มีอะไรตายตัว จะเป็นไฮโดรเจน เป็นต้น
หากเทียบกับปริมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ปี 2050 จะต้องลดลงมาเพื่อเป้าหมาย Net Zero หากจะลงทุนตอนนี้ พลังงานทดแทนหลัก ๆ เขื่อน โซลาร์ เงินลงทุนต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ดังนั้น ฟอสซิลจะยังคงต้องมีอยู่ พลังงานหมุนเวียน ยังตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมด แต่ปัญหาที่แท้จริงคือต้องนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ราคาพลังงาน และความยั่งยืน 2 ใน 3 จึงจะไปด้วยกันได้ แต่ไม่สามารถไปด้วยกันทั้งหมด เช่น เราต้องการความมั่นคง ลงทุนฟอสซิลสูง สุดท้ายราคาน้ำมันถูก แต่ไม่ยั่งยืน หรือเราจะไปที่พลังงานสะอาด แต่สิ่งที่หายไปคือความมั่นคง เช่น แดด ลม ไม่เสถียรมากนัก หากเทียบโลกปัจจุบันไม่เหมือน 30 ปีที่แล้ว ประชากรและจีดีพียังไม่เยอะ สามารถพึ่งต้นไม้ดูดซับคาร์บอนได้
ทั้งนี้ กลุ่มบางจากจึงอยากให้ทราบว่าพลังงานใช้เยอะมาก โดยพลังงานทดแทน หรือการสนับสนุนกลไกราคาพลังงานอาจไม่ตอบโจทย์ ได้เร็วมากนัก ดังนั้น ควรมาร่วมกันสร้างระบบนิเวศใหม่ ดึงช่วยด้วยเทคโนโลยี เช่น ไฮโดรเจน ที่ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อสร้างพลังงาน หรือการสร้างตลาดคาร์บอน จะช่วยให้ขับเคลื่อนพลังงานได้
กลุ่มบางจาก จึงให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน 3 ประการ (Balancing the Energy Trilemma) ได้แก่ ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) การเข้าถึงพลังงาน (Energy Affordability) และความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการนำพลังงานจากโลกมาใช้ ซึ่งมีผลต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและดูแลโลกใบนี้ให้ยั่งยืน และได้มีการตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero ในปี ค.ศ. 2050 (Carbon Neutrality ในปี 2030)
ผ่านแผนงาน BCP 316 NET ต่อไป
แบงก์ชาติ เร่งคลอดแผน Taxonomy ปีหน้ามุ่งเป้าลดคาร์บอน
ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ “Sustainable Finance Taxonomy” ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวพอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญ โดยเป้าหมายที่ต้องปรับล่าสุดคือ COP27 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะปรับเป้าหมายให้สอดรับกับความท้าทายขึ้น ดังนั้น ภาคการเงินถือเป็นตัวกลางในการจัดสรรเงินลงทุนให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของประเทศ สนับสนุนเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อมสังคมธรรมาภิบาล
ทั้งนี้ ทั่วโลกต้องการเงินลงทุนโดยรวม 5-7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อบรรลุเป้าหมาย ESG และประมาณปีละ 4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2030 จะควบคุมอุณภูมิโลกเกิน 1.5 องศา ซึ่งเราต้องการเงินลงทุนเหล่านี้อีกมาก ซึ่งสามารถดึงเงินลงทุนแหล่งต่าง ๆ ของโลกทั้งหมดได้ จะมีเงินลงทุนส่งเสริมความยั่งยืนจะต้องดึงเงินลงทุนเหล่านี้เข้ามาให้ได้
ส่วนความสนใจของสังคมและภาคการเงินสนใจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สนับสนุนความยั่งยืน สนับสนุน ESG สนันสนุนกรีนออกมา แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ากิจกรรมทางการเงินลงทุนจะถูกนำไปใช้สอดคล้องกับความยั่งยืนจริง ไม่ใช่การฟอกเขียว ที่เป็นการแอบอ้างเท่านั้น ต้องจึงสร้างความโปร่งใส สร้างความมั่นใจ ทั้งผู้ให้และผู้รับร่วมกัน โดยทั้ง 2 เรื่องนี้ได้นำมาสู่ภาคการเงินที่ต้องดำเนินการ ภายใต้แผน Sustainable Finance ซึ่งมี Taxonomy เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้ตั้งคณะกำกับการเงินเพื่อความยั่งยืน เพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กำหนดองค์ประกอบทิศทางที่สำคัญ 5 ข้อ แต่จะขอยกตัวอย่างในเรื่องของการพัฒนาเรื่องของ Taxonomy คือกำหนดนิยามจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่สอดคล้องเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ สอดคล้องความยั่งยืนให้เข้าใจร่วมกัน ให้ผู้กำกับ ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินได้เข้าใจ และนำไปสู่ความคาดหวังให้มีเงินมาสนับสนุนมากขึ้น
ส่วนเรื่องอื่น ๆ ของการพัฒนาการเงิน อาทิ การเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่สอดคล้องมีมาตฐาน สร้างมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดตลาดลงทุนผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดดีมานด์หรือความสนใจ ทางการเงิน ให้ตอบโจทย์ความยั่งยืน พัฒนาบุคคล ซึ่งเรื่อง Taxonomy จะตรงกับอียูที่มีความก้าวหน้ามาก ประเทศไทยจึงมองเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องทำเร่งด่วนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติจึงอยู่ระหว่างทำแผนทรานส์ฟอร์มสู่อนาคต และมีการเตรียมการด้านอื่น ๆ อีก อาทิ ด้านดิจิทัล กรีน ยั่งยืน และด้านความยืดหยุ่นในด้านของการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ออกแนวการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้สายการเงินออกมา ซึ่ง Taxonomy เป็นหนึ่งในด้านของการขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม
“แบงก์ชาติก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืน ที่ต้องเล็งเห็นความสำคัญของประเทศ การเปลี่ยนผ่านฟอสซิลต้องใช้เงินและเทคโนโลยีสูง ธุรกิจองค์กรขนาดเล็กอาจไม่มีขีดความสามารถและความพร้อมประสิทธิภาพด้านการเงิน ต้องคำนึงถึงผลกระทบของโลก ซึ่งความท้าทายอนาคตหากช้าจะมีต้นทุนสูง หากไปเร็วจะถึงจุดที่ไปได้ทันการ การตั้งคณะทำงานเรื่อง Taxonomy จึงเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งปีหน้าน่าจะเห็นกฎระเบียบแผนงานที่ชัดเจน”
สำหรับเป้าหมายหลัก อยากให้ประเทศไทยมี Taxonomy ที่เป็นมาตรฐานเพื่อกำหนดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ทั้งภาคการเงิน รัฐ และเอกชนสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการดำเนินการของตัวเองได้ ทั้งวางนโยบาย กำกับสนับสนุน สร้างผลิตภัณฑ์หรือการเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ โดยประเทศไทยจะเริ่มจากภาคพลังงาน และขนส่งก่อน ถือเป็นภาคใหญ่ที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด
อียู-จีน เพิ่มความเข้มงวดกฎหมาย-ภาษีคาร์บอน
“หลายประเทศเริ่มออกกฎหมาย ทั้งสมัครใจและบังคับใช้ แต่มีอียูและจีนได้มีการบังคับใช้เข้มงวด ส่วนในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ รวมถึงไทย จะเริ่มในเรื่องของความสมัครใจ ให้ภาคส่วนที่สนใจนำไปใช้ก่อน ภาคส่วนที่บังคับ อียูมีทั้งภาคการเงิน การเปิดเผยข้อมูล บริษัทขนาดใหญ่ลูกจ้างเกิน 500 คนต้องเปิดเผยข้อมูล ค่าใช้จ่ายการลงทุนพลังงานกี่เปอร์เซ็นต์ที่สอดคล้องกับ Taxonomy เป็นต้น ส่วนฟิลิปปินส์ กับประเทศไทยอยู่ระหว่างจัดทำเช่นกัน”
นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำต่อไปหลังจากเรื่องของ Taxonomy คือ การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งภาคธุรกิจ สมาคมต่าง ๆ ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ดังนั้น Taxonomy จะเป็นก้าวสำคัญ ที่จะสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ในไทย จะเป็นตัวช่วยเสริมข้อมูลอ้างอิงภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ได้ปรับตัวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เกิดการทำกรีน ฟอสซิล มากขึ้น สถาบันทางการเงินก็จะได้ทำเป็นตัวอ้างอิง โดยมีรัฐกำกับ ส่วนเอกชนจะประเมินความพร้อมด้านเงินลงทุนของตนเองได้